การตั้งค่าพารามิเตอร์ของมอเตอร์ วัตถุประสงค์หลักของการใช้งานอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ทั่วไป คือ การควบคุมการทำงานของมอเตอร์ (Motor) เช่น ปรับระดับความเร็วและทิศทางของมอเตอร์ ซึ่งอินเวอร์เตอร์โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนในการตั้งค่า ที่คล้ายคลึงกัน โดยบทความนี้จะแนะนำค่าพารามิเตอร์ที่น่าสนใจในการที่จะปรับตั้งอิน เวอร์เตอร์เบื้องต้น ดังที่จะแสดงในไดอะแกรม (Diagram) ต่อไปนี้ 1. การตั้งค่าพารามิเตอร์ของมอเตอร์ เปรียบเสมือนการแนะนำอินเวอร์เตอร์ให้รู้จักกับมอเตอร์ ซึ่งใน ส่วนนี้ต้อง ปรับตั้งค่าอินเวอร์เตอร์ให้ตรงตาม Nameplate ของมอเตอร์ หาก ตั้งค่าที่ไม่ถูกต้องอาจมีผล ทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งพารามิเตอร์ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้ ขนาดของแรงดันที่ใช้กับมอเตอร์ , ขนาดของกระแสที่ให้มอเตอร์ , กำลังวัตต์ของมอเตอร์ , ความเร็วรอบของมอเตอร์ 2. การกำหนดรูปแบบการควบคุม คือ การกำหนดรูปแบบการ เปิด / ปิด อินเวอร์เตอร์ หรือ รูปแบบ การควบคุมความเร็วของมอเตอร์ 3. การกำหนดช่วงความถี่ใช้งาน คือ การกำหนดความถี่ต่ำสุด หรือ ความถี่สูงสุด ที่อินเวอร์เตอร์จะให้แก่ มอเตอร์ ซึ่งความถี่ที่ตั้งจะเป็นตัวกำหนดความเร็วต่ำสุด หรือ สูงสุดของมอเตอร์ พารามิเตอร์ที่น่าสนใจ มีดังนี้ 3.1 ความถี่ต่ำสุดของอินเวอร์เตอร์(Minimum Motor Frequency)ใช้กำหนดความเร็วต่ำสุดที่มอเตอร์จะหมุนได้โดยทั่วไปไม่ควรตั้งต่ำกว่า 10 Hz เนื่องจากจะทำให้มอเตอร์ทอร์ค (torque) ตก ไม่มีกำลัง 3.2 ความถี่สูงสุดของอินเวอร์เตอร์ (Maximum Motor Frequency) ใช้กำหนดความเร็วสูงสุดที่มอเตอร์ จะหมุนได้ ข้อสังเกตประการหนึ่ง ในการปรับตั้งพารามิเตอร์นี้คือ ปัจจุบันแรงดันไฟฟ้าของประเทศไทย มีความถี่ 50 Hz ซึ่งหากกำหนดมากกว่า 50 Hz จะมีผลให้ทอร์คของมอเตอร์ ตกลงอย่างรวดเร็ว แต่มอเตอร์ ก็จะมีความเร็วที่สูงขึ้น 3.3 ช่วงเวลาขอบขาขึ้น (Ramp-Up Time) เป็นการกำหนดระยะเวลาที่มอเตอร์จะใช้ในการเข้าสู่ ความเร็วที่กำหนด (Set Point) หากตั้งค่าน้อยเกินไปจะมีผลทำให้กระแสช่วงออกตัวของมอเตอร์มีค่าสูง ซึ่งหากโหลดที่ให้มีกำลังวัตต์มากที่สุดในโรงงานจะมีผลต่อค่าความต้องการ ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand -Voltage) แต่หากปรับค่ามากเกินไปจะมีผลทำให้มอเตอร์ออกตัวช้า หรือ ออกตัวไม่ได้ 3.4 ช่วงเวลาขอบขาลง (Ramp-Down Time) เป็นการกำหนดระยะเวลาที่มอเตอร์ใช้ในการเปลี่ยน จากความเร็วสูงสุดเข้าสู่การหยุด ให้แรงดันโดยปกติ การหยุดการทำงานของอินเวอร์เตอร์จะมีลักษณะ ค่อยลดแรงดันจากค่าสูงสุดทีละเล็กน้อยจนกระทั่งไม่มีแรงดันซึ่งจะมีผลต่อ เวลาในการหยุดของมอเตอร์ และปริมาณแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนกลับเข้าสู่อินเวอร์เตอร์ ดังนั้น ในกรณีที่มอเตอร์มีขนาดใหญ่หากปรับค่านี้ น้อยเกินไปอาจมีผลทำให้อินเวอร์เตอร์ Trip อันเนื่องจาก แรงดันไฟฟ้าป้อนกลับ |
|||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
A.P.Machinery&Service Co.,Ltd. | Update 17-July-2012 |